QingMing festival

เทศกาล

เช็งเม้ง

清明节

เช็งเม้ง

Qingming Festival

Qingming

เทศกาลเช็งเม้ง
(清明节)

บทความโดย รศ.ดร.พรพรรณ จันทโรนานนท์

เป็นเทศกาลประจำปีตามประเพณี (年节 หรือ 传统节日) ที่สำคัญของชาวจีน
ที่แสดงออกถึงความกตัญญูความเคารพและการระลึกถึงบรรพบุรุษ
คำว่า ”เช็งเม้ง” นั้นเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ชิงหมิง”
เมื่อพูดคำเต็มว่า ”ชิงหมิงเจี๋ย” ก็หมายถึงเทศกาลเช็งเม้งนั่นเอง

เทศกาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยชุนชิว (ก่อนคริสตศักราช 770 ปี ถึงก่อนคริสตศักราช 476 ปี)

เทศกาลนี้นอกจากเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังให้ความสำคัญกับข้าราชการตงฉินชื่อเจี้ยจื่อทุย (介子推) แห่งรัฐจิ้น (晋国) ด้วยโดยทางการห้ามมีการก่อไฟในบ้าน (禁火) และให้กินอาหารเย็นๆ เรียกว่า”หานสือ” (寒食) เป็นช่วงเวลายาวกว่า 3 เดือน เมื่อหมดช่วงหานสือชาวบ้านจะได้เชื้อไฟจากในวังที่พระจักพรรดิ์ทรงพระราชทานให้เหล่าเสนาบดี จากนั้นแล้ว ชาวบ้านจึงสามารถติดไฟปรุงอาหารร้อนได้

ต่อมาทางการเห็นว่าไม่สมควร ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-ค.ศ.907) จึงลดวัน ”หานสือ” ให้น้อยลง และเน้นความสำคัญในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมากขึ้น รวมทั้งการทำความสะอาดสุสาน การอาบน้ำที่ริมแม่น้ำที่เรียกว่า ”ฝูเซีย” (祓褉) เพื่อเป็นสิริมงคลให้ห่างไกลจากภัยพิบัติ การท่องเที่ยวนอกเมือง ในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจง (唐玄宗) (ค.ศ.712 –ค.ศ.742) ทรงมีพระราชบัญชาให้ราษฏรหยุดในเทศกาลนี้ 4 วัน 

ข้อมูลเกี่ยวกับวันเทศกาลนี้ดูได้จากหนังสือ ”ถังฮุ่ยเย้า ตอนที่ 82” (《唐会要》卷82) มาถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (北宋) (ค.ศ.960-ค.ศ.1127) เทศกาลเช็งเม้งและหานสือได้หยุดรวม 7 วัน ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”เหวินชังจ๋าลู่” (《文昌杂录》) ของผังหยวนอิง (庞元英)  

ในปี ค.ศ.1935 รัฐบาลประเทศจีน (中华民国) ก่อนตั้งประเทศใหม่ ได้กำหนดวันที่ 5 เดือน 4 ของปีคริสตศักราชเป็นวันเช็งเม้งประจำปี และให้เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการหนึ่งวัน ต่อมาในปี ค.ศ.2007  เดือน 7 วันที่ 12 รัฐบาลมีประกาศให้หยุดวันเช็งเม้งอย่างเป็นทางการ โดยหยุดตามวันที่ปฏิทินจีน หรือปฏิทินหนงลี่ (农历) กำหนดไว้

เทศกาลเช็งเม้งจะจัดกันในช่วงกลางฤดูใบไม้ผลิมาจนถึงวันสุดท้ายของฤดูใบไม้ผลิ และในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนต่างถือเอาวันที่ 5 เดือน 4 เป็นวันสิ้นสุดของเทศกาล โดยเป็นเทศกาลที่ลูกหลานต้องไปร่วมกันจัดไหว้บรรพบุรุษ ทำความสะอาดสุสาน ตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา ในโอกาสนี้บุตรหลานได้มีโอกาสพูดคุยสังสรรค์กันมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะเป็นกุศโลบายหนึ่งที่ทำให้ลูกหลานเกิดความสามัคคีปรองดองเพื่อร่วมกันสร้างวงศ์ตระกูลให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น

“ชิงหมิงซั่งเหอถู” (清明上河图)

ภาพวาดบนผ้าไหมของจางเจ๋อตวน (张择端)

เมื่อถึงเทศกาลนี้ครั้งใด สิ่งที่อยู่ในใจไม่เคยลืมเลือนมีสองเรื่อง คือ หนึ่งภาพวาดบนผ้าไหมของจางเจ๋อตวน (张择端) ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ที่มีชื่อว่า “ชิงหมิงซั่งเหอถู” (清明上河图) ซึ่งมีความสวยงามมากเกินคำบรรยาย และเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่จิตรกรเอกได้วาดบนผ้าไหมที่กว้าง 24.8 ซม. และยาวถึง 528.7ซม. เนื้อหาในรูปวาดเต็มไปด้วยเรื่องราวของผู้คนในนครเปี้ยนยนจิง (汴京) ที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเปี้ยนเหอ (汴河) ซึ่งปัจจุบันเมืองเปี้ยนจิงคือเมืองไคเฟิง (开封) ของมณฑลเหอหนาน (河南)

”ชิงหมิง”《清明》บทกวี "วันแห่งการไว้ทุกข์"

คำกลอนของกวีเอกตู้มู้ (杜牧) แห่งราชวงศ์ถัง (唐)

และอีกเรื่องคือคำกลอนของกวีเอกตู้มู้ (杜牧) แห่งราชวงศ์ถัง (唐)
ที่บรรยายถึงบรรยากาศในวันเช็งเม้ง ชื่อกลอนว่า”ชิงหมิง” (《清明》)

清明时节雨纷纷,路上行人欲断魂。

借问酒家何处有,牧童遥指杏花春。

เทศกาลเช็งเม้งฝนตกปอยปอย  คนเดินทางใจจะขาด

ขอถามว่าที่ใดมีโรงเตี้ยม  เด็กเลี้ยงวัวชี้ไปยังสวนดอกเห็งที่อยู่ไกลโพ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top