บทความโดย
พจ.ธรรมธัช เชี่ยวพรหมคุณ

อาจารย์ประจำคณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

การดูแลสุขภาพตามช่วงเวลา
ภาวะชิวเฟิน 秋分

ในเวลาหนึ่งปีนอกจากจะแบ่งเป็นฤดูกาลต่าง ๆ แล้ว วัฒนธรรมจีนยังได้กำหนดชื่อให้ภาวะของดินฟ้าอากาศ ที่แสดงถึงลักษณะพิเศษของช่วงเวลานั้น ๆ โดยแบ่งเป็นฤดูกาลละ 6 ภาวะ รวม 24 ภาวะ หรือเราอาจจะรู้จักกันในชื่อ สารททั้ง 24 เช่น ภาวะชิงหมิง หรือเช็งเม้ง (แต้จิ๋ว) ภาวะตงจื้อ หรือตังโจ่ย (แต้จิ๋ว) เป็นต้น 

ซึ่งลักษณะพิเศษของดินฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาย่อมส่งผลกระทบต่อมนุษย์ซึ่งอาศัยอยู่ภายใต้ภาวะนั้น ๆ ตามหลักการของมุมมองแบบองค์รวมทางการแพทย์แผนจีน ซึ่งมองว่า มนุษย์ได้รับผลกระทบต่าง ๆ ตามลักษณะของสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและทางสังคม และการรู้และเข้าใจลักษณะพิเศษของภาวะนั้น ๆ และใช้ชีวิตให้สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะต่าง ๆ ย่อมทำให้เรามีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

ภาวะชิวเฟิน(秋分)

ในวันที่ 22 – 24 กันยายนของทุกปี จะเข้าสู่ภาวะชิวเฟิน(秋分)นับเป็นวันกึ่งกลางของฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน หรือที่รู้จักกันในชื่อศารทวิษุวัต (สันสกฤต) หรือ Autumnal Equinox จัดเป็นภาวะที่ 4 ในฤดูใบไม้ร่วง หรือภาวะที่ 16 ของปี

ลักษณะที่เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งแสดงถึงอิน(阴)และหยาง(阳)ของธรรมชาติ มีความสมดุลกัน

ก่อนที่อินจะเพิ่มขึ้นมากกว่าหยางและอากาศเริ่มเย็นลงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของปี ในประเทศไทยซึ่งมี 3 ฤดู ช่วงภาวะชิวเฟินนี้ยังอยู่กลางฤดูฝน แม้ความร้อนจะลดลงจากฤดูร้อนแล้วแต่ความชื้นที่เพิ่มสูงขึ้นหลังฝนตกก็ยังทำให้เหนียวหนักไม่สบายตัว 

เมื่อประกอบกับการฝังตัวเองอยู่ในห้องแอร์ของคนในปัจจุบัน เกิดความต่างของความชื้นและอุณหภูมิระหว่างการเข้าออกจากห้อง ความชื้นและความเย็นจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ส่งผลให้ระบบม้ามซึ่งกำกับดูแลด้านการสร้างพลังให้ร่างกายและกำกับดูแลระบบทางเดินอาหาร ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร ท้องอืดแน่นท้อง ถ่ายอุจจาระไม่เป็นก้อน จำนวนครั้งมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากสภาวะม้ามพร่องความชื้นอุดกั้น หรืออาจพบอาการมือเท้าเย็น ขี้หนาว เวียนศีรษะ ซึ่งแสดงถึงอาการที่รุนแรงยิ่งขึ้น

การดูแลสุขภาพในช่วงภาวะชิวเฟิน(秋分)

1. ระมัดระวังเรื่องน้ำตาล และอาหารรสเค็ม

การผ่านช่วงฤดูร้อนที่เผาผลาญสารน้ำและพลังชี่ของร่างกายเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้อาจจะคุ้นชินกับการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานและเค็มกว่าปกติเพื่อเสริมสร้างพลังงานและทดแทนสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย เมื่อพ้นจากฤดูร้อนแล้วการเผาผลาญสารน้ำและพลังชี่ลดลงแต่ยังอาจติดความคุ้นเคยนั้นอยู่ จึงควรปรับอาหารการกินให้เหมาะสม

2. เน้นอาหารหรือเครื่องเทศฤทธิ์อุ่นรสเผ็ดเล็กน้อย

ช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระเทียม กระวาน กานพลู ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เป็นต้น เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของพลังชี่และขับความชื้น ป้องกันอาการที่เกิดจากสภาวะม้ามพร่องความชื้นอุดกั้น

3. ระมัดระวังเมื่อเหงื่อออกอย่าให้ได้รับความเย็น

เมื่อเหงื่อออกรูขุมขนเปิด การแพทย์แผนจีนมีมุมมองต่อการเจ็บป่วยว่า เกิดจากการเข้ามาของปัจจัยก่อโรคภายนอกซึ่งเข้ามาทางผิวหนังรูขุมขน ดังนั้นการได้รับความเย็น ความร้อน ลม หรือปัจจัยอื่น ๆ เมื่อรูขุมขนเปิดอยู่จะทำให้ความสมดุลของร่างกายผิดปกติไป

ภาพประกอบโดย
www.NARIT.or.th
jcomp – www.freepik.com
Joseph Mucira จาก Pixabay

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top