枸杞

เก๋ากี้ ...ยาดีในครัว Goji Berry/Wolfberry

“เก๋ากี้” มีชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า “โก่วฉีจึ” และมีชื่อที่คุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่า “โกจิเบอร์รี่” (Goji Berry) หรือ “วูฟเบอร์รี่” (Wolfberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ผลเป็นสีแดง จะสุกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจะนิยมเก็บผลเก๋ากี้มาตากในที่ร่มจนผิวเหี่ยว สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ตลอดจนนำมาแปรรูปเป็นชาสมุนไพรดื่มบำรุงสุขภาพได้อีกด้วย
AjMint2

“เก๋ากี้…ยาดีในครัว”

อาจารย์แพทย์จีน อรภา ศิลมัฐ

-
คณะการแพทย์แผนจีน มฉก.

"หากพูดถึงสมุนไพรจีนเม็ดสีส้ม ๆ รสชาติออกเปรี้ยวอมหวาน และมักจะอยู่ในซุปซี่โครงหมูตุ๋นเครื่องยาจีนที่มักจะเสิร์ฟตามโต๊ะจีนงานแต่ง งานบวช ทุกคนคงจะต้องร้อง “อ๋อ!” อย่างแน่นอน... "

ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึง “เก๋ากี้” สมุนไพรจีนคู่ครัวที่พวกเราเคยลองลิ้มชิมรสกันมานาน วันนี้ขออาสาพาทุกท่านไปทำความรู้จัก “เก๋ากี้” ให้ลึกซึ้งกว่าเดิมก็แล้วกันนะคะ

            “เก๋ากี้” มีชื่อเรียกในภาษาจีนกลางว่า “โก่วฉีจึ” และมีชื่อที่คุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่า “โกจิเบอร์รี่” (Goji Berry)หรือ “วูฟเบอร์รี่” (Wolfberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ผลเป็นสีแดง จะสุกในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ชาวจีนจะนิยมเก็บผลเก๋ากี้มาตากในที่ร่มจนผิวเหี่ยว สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ตลอดจนนำมาแปรรูปเป็นชาสมุนไพรดื่มบำรุงสุขภาพได้อีกด้วย

            ในตำราโบราณของศาสตร์การแพทย์แผนจีนหลายเล่มได้กล่าวถึงเก๋ากี้ไว้ว่า เป็นผลไม้ที่นำมาทำเป็นยารักษาโรคได้หลายอย่าง มีรสหวาน ฤทธิ์กลางไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ ฤทธิ์ยามุ่งเข้าสู่เส้นลมปราณตับ ม้าม กระเพาะอาหาร และปอด มีสรรพคุณบำรุงให้ปอดและไตชุ่มชื่น บำรุงตับ บำรุงสายตาป้องกันและรักษาอาการตาแห้งได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แพทย์จีนยังใช้บรรเทาและรักษาอาการของโรคเบาหวาน ไอแห้งเรื้อรัง บำรุงเส้นเอ็นและกระดูก ในตำราเย่าซิ่งลุ่นของจีนบันทึกไว้ว่าเก๋ากี้เคยถูกใช้เป็นยาเพิ่มอสุจิในเพศชายได้ดีอีกด้วย

            ปัจจุบันนี้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารออกฤทธิ์ของเก๋ากี้มากมาย ซึ่งพบว่าในเก๋ากี้นั้นนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็น “ซุปเปอร์ฟู้ด” เพราะมีไฟเบอร์สูง อุดมไปด้วยกรดอะมิโน 19 ชนิด มีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการหลากหลายชนิด เช่น สังกะสี เหล็ก ทองแดง แคลเซียม ฟอสฟอรัส เจอร์มาเนียม และมีวิตามินซีสูงแล้ว ยังมีสารจำพวกซีแซนทีน (zeaxanthin) และลูทีน (lutein) สูงกว่าผักผลไม้ทั่วไปด้วย* ซีแซนทีนและลูทีนเป็นองค์ประกอบสำคัญในจอประสาทตา ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา จึงทำให้เก๋ากี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม และโรคหัวใจและหลอดเลือด

            การรับประทานเก๋ากี้ นอกจากนำมาต้มรวมกับสมุนไพรจีนอื่นๆรวมเป็นตำรับยารักษาโรคโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงรับประทานในรูปแบบอื่นๆได้ด้วย ดังนี้

เก๋ากี้

การรับประทาน

            การรับประทานเก๋ากี้ นอกจากนำมาต้มรวมกับสมุนไพรจีนอื่น ๆ รวมเป็นตำรับยารักษาโรคโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงรับประทานในรูปแบบอื่น ๆได้ด้วย ดังนี้

  • นำเก๋ากี้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำ โดยนำเก๋ากี้ 1-2 ช้อนโต๊ะ ล้างผ่านน้ำ แล้วชงเป็นชาด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ดื่มต่างน้ำ จะช่วยบำรุงสายตา เพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่อวัยวะภายใน ผิวพรรณสดใส
  • นำเก๋ากี้ผสมอู่เว่ยจึ (五味子) สมุนไพรจีนรสเปรี้ยว ในอัตราส่วน 1:1 ชงเป็นชาด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น จิบวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จะช่วยลดความอ่อนเพลียจากการสูญเสียเหงื่อและสารน้ำในร่างกายช่วงอากาศร้อนๆแบบนี้ได้เป็นอย่างดี
 
  • นำเก๋ากี้ 1-2 ช้อนโต๊ะ ล้างน้ำให้สะอาด ตุ๋นร่วมกับซานเย่า พุทราจีน หวงฉี ตังกุย ลำไยอบแห้ง และซี่โครงหมู เป็นเมนูบำรุงตับ ไต ปอด และกระเพาะอาหารได้ในทุกเพศทุกวัย
  • นำเก๋ากี้และลำไยอบแห้ง อัตราส่วน 2:1 ล้างผ่านน้ำ ใส่น้ำประมาณ 2.5 ลิตร เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆจนน้ำงวดและมีลักษณะเหนียวข้น ยกลงจากเตา ตักใส่ขวดแก้วเก็บไว้ในที่แห้ง เรียกว่า “ฉีหยวนเกา” นำมารับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ช่วยบำรุงเลือด สงบจิตใจ ทำให้นอนหลับดี บำรุงกระดูกและเส้นเอ็น เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย หรือนำมารับประทานเมื่อร่างกายขาดน้ำ ข้อเข่าหรือลูกตาแห้ง ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น 

         แม้ว่าเก๋ากี้จะเป็นผลไม้ที่ไม่มีพิษ แต่อาหารทุกชนิดถ้าเราบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้คุณประโยชน์ แต่หากบริโภคไม่ถูกต้องหรือในปริมาณมากเกินไปก็อาจให้โทษได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนรับประทานเก๋ากี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำหรือสูง หรือกินยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น วาร์ฟาริน หรือยาที่ส่งผลต่อความดันโลหิต ฯลฯ เพื่อความปลอดภัยและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการรับประทานเก๋ากี้นะคะ

 

*ข้อมูลจาก :ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. วีณา นุกูลการน.ส.ธันย์ชนก ปักษาสุข. โกจิเบอร์รี่ ผลไม้บำรุงสายตาและชะลอจอประสาทตาเสื่อม. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. www.pharmacy.mahidol.ac.th

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณภาพประกอบบทความจาก

https://pixabay.com/
https://i.pinimg.com/564x/63/1b/0b/631b0b0d95493a03abbd38d5807618a8.jpg

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top