Chinese Medicine

ดวงตาบอกโรค & ศาสตร์การแพทย์แผนจีน

 

 

 

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ดวงตาเป็นเสมือนหน้าต่างของหัวใจ”

แต่สำหรับศาสตร์การแพทย์แผนจีนเราคงจะต้องกล่าวว่า “ดวงตาเป็นเสมือนทวารของตับ”

ว่าแต่เป็นเพราะอะไร ทำไมเราถึงกล่าวเช่นนี้ แล้วนอกจากนี้ตำแหน่งต่าง ๆ

ของดวงตายังสะท้อนโรคของอวัยวะอะไรได้อีกบ้าง มาติดตามกันเลยค่ะ

อาจารย์แพทย์จีน อรภา ศิลมัฐ คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

เหตุที่เรากล่าวว่า

ดวงตาเป็นทวารของตับ

นั้นก็เพราะว่า ในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ได้กล่าวไว้ว่า อวัยวะตับมีเส้นลมปราณที่เชื่อมสัมพันธ์ไปยังดวงตา

            เหตุที่เรากล่าวว่า “ดวงตาเป็นทวารของตับ” นั้น ก็เพราะว่าในคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกความรู้ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนไว้นั้น ได้กล่าวไว้ว่า อวัยวะตับมีเส้นลมปราณที่เชื่อมสัมพันธ์ไปยังดวงตา ปกติแล้วตับจะทำหน้าที่กักเก็บเลือด ดวงตาจะมองเห็นและมีประกายงดงามได้จะต้องได้รับเลือดจากกระบวนการทำงานของตับ ฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาไม่ว่าจะเป็นตาเหลือง ตาแดง แห้ง น้ำตาไหลมากหรือน้อยกว่าปกติ ฯลฯ แพทย์จีนจะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าอาจเกิดจากความไม่สมดุลของการทำงานของตับและรวมไปถึงถุงน้ำดีด้วย เนื่องจากตับและถุงน้ำดีเป็นอวัยวะตันและกลวงที่ทำงานคู่กัน มีเส้นลมปราณเชื่อมต่อถึงกันนั่นเอง

              นอกจากนี้บริเวณต่างๆ ของดวงตา ยังสามารถสะท้อนการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายได้ด้วย ได้แก่

            ตาดำ    จะสะท้อนการทำงานของตับ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เฟิงหลุน” หรือ “วงล้อแห่งลม”

            ตาขาว  จะสะท้อนการทำงานของปอด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชี่หลุน” หรือ “วงล้อแห่งชี่” เป็นทวารที่บ่งบอกแนวโน้มสภาพการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกายได้   

            เรตินา  จะสะท้อนการทำงานของไต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สุ่ยหลุน” หรือ “วงล้อแห่งน้ำ” เรตินาเป็นส่วนภายในดวงตาที่ต้องการความชุ่มชื่นเพื่อให้การแปลสัญญาณภาพของเซลล์เป็นไปอย่างปกติ ซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานของไตที่เป็นอวัยวะที่ใกล้ชิดกับน้ำนั่นเอง

            เยื่อบุตา  เยื่อบุตาทั้งส่วนหัวตาและหางตา จะสะท้อนการทำงานของหัวใจ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สเว่หลุน” หรือ “วงล้อแห่งเลือด” เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่ดูแลระบบไหลเวียนเลือดภายในร่างกาย หากเยื่อบุตาเกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง แพทย์จีนจะวินิจฉัยเบื้องต้นว่าหัวใจของผู้ป่วยอาจมีภาวะการทำงานในทางการแพทย์แผนจีนที่ผิดปกติได้

            เปลือกตาและผิวหนังใต้ตา   จะสะท้อนการทำงานของม้ามหรือระบบย่อยอาหาร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “โร่วหลุน” หรือ “วงล้อแห่ง(กล้าม)เนื้อ” ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าม้ามหรือระบบย่อยอาหารที่แข็งแรง จะก่อให้เกิดชี่ที่เพียงพอ ชี่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อน นำพาสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสมดุล และมีกำลังในการป้องกันเชื้อโรค ทำให้เกิดกล้ามเนื้อและระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง จึงมักสังเกตได้ว่าผู้ที่มีใต้ตาคล้ำมักจะมีปัญหาด้านระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย หรือระบบภูมิคุ้มกันร่างกายนั่นเอง

            รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจากภายใน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ และดื่มน้ำอย่างพอดี เพื่อเปล่งประกายความสดใสออกสู่ภายนอกผ่านดวงตาคู่สวยของเรานะคะ…

คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง

คัมภีร์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกความรู้ของศาสตร์การแพทย์แผนจีนไว้

ภาพประกอบสวยๆ จาก

  1. https://pixabay.com/
  2. https://us-fbcloud.net/wb/data/996/996694-img.s4wgwc.12cvg.jpg
  3. https://web.facebook.com/huachiewtcm/posts/817518088353213/?_rdc=1&_rdr

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top