อารมณ์...กับการเกิดโรค

โดยอาจารย์แพทย์จีน อรภา ศิลมัฐ

"อารมณ์" ตามศาสตร์แพทย์จีน

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับการรักษาโรคแบบองค์รวม  มีทฤษฎีพื้นฐานที่กล่าวว่าร่างกายของเราจะแข็งแรงได้นั้นจะต้องอาศัย “ความสมดุล” ระหว่างร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ความรู้สึกซึ่งสอดคล้องกับหลักของพระพุทธศาสนาที่สอนให้เรามีสติ สมาธิ อันนำมาซึ่งความสงบในจิตใจซึ่งจะส่งผลให้สารคัดหลั่งต่างๆของร่างกายถูกหลั่งออกมาอย่างเป็นปกติ มีผลให้ร่างกายของเราแข็งแรงอยู่เสมอ แต่เมื่อใดก็ตามที่เราไม่สามารถควบคุมสติและความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้ ก็จะทำให้เราเกิด “อารมณ์” ต่างๆ ขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

“อารมณ์ดี” หมายถึง อารมณ์ที่เป็นปกติ

          คำว่า “อารมณ์ดี” หลายๆ คนคงจะให้คำนิยามว่า หมายถึง อารมณ์ที่เฮฮา สนุกสนาน คิดบวก แต่ในที่นี้อยากให้ทุกคนเข้าใจไปในทางเดียวกันว่า “อารมณ์ดี” หมายถึง อารมณ์ที่เป็นปกติ อารมณ์ที่สมดุล ไม่ทำให้จิตใจรู้สึกจัดจ้านหรือเฉื่อยชาจนเกินขอบเขต และต้องเป็นอารมณ์ที่ไม่ให้โทษแก่ร่างกายของตนเองและผู้อื่น หากเรามีอารมณ์ปรุงแต่งที่มากเกินไปจนสุดโต่งก็จะทำให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้กล่าวถึง “อารมณ์” ต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายไว้อย่างน่าสนใจ ได้แก่

1.อารมณ์โกรธ

ความโกรธทำให้ลมปราณในร่างกายย้อนขึ้น เราจะสังเกตได้ว่าเวลาที่เราโกรธนั้นมักจะมีอาการหน้าแดง ตาแดง เวียนศีรษะ ตาลาย บางคนหูอื้อ (หรือที่เราเรียกว่า โกรธจนลมออกหู) บางคนโกรธมากๆ จะมีเสียงวิ้งในหู ความดันสูงขึ้น หรือสลบไปเลยแบบในละครก็มี

ส่งผลต่อการทำงานของตับ

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อเราโกรธจะกระทบต่อการทำงานของตับ ปกติตับ (ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน) จะทำหน้าที่ระบายลมปราณลงด้านล่างของร่างกาย ช่วยให้เลือดไหลและสารน้ำต่างๆ ในร่างกายไหลเวียนได้อย่างเป็นปกติ ดังนั้นหากเรามีอารมณ์โกรธ ตับจะเป็นอวัยวะที่สูญเสียหน้าที่การทำงานไป ร่างกายของเราก็จะเจ็บป่วยนั่นเอง

liver3

2.อารมณ์ดีใจ

ดีใจ เหมือนจะเป็นสิ่งที่ดี แต่หากเราดีใจมากเกินไป ร่างกายของเราจะมีอาการต่างๆ เช่น กระโดดโลดเต้น ปรบมือรัว หรือบางคนอาจจะพูดจาไม่เป็นภาษา การตัดสินใจช้า ที่เป็นเช่นนี้เกิดจากอารมณ์ดีใจที่มากเกินไป ทำให้ลมปราณไหลเวียนช้า ส่งผลกระทบถึงการทำงานของหัวใจ 

ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

หัวใจ (ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน) จะทำหน้าที่ดูแลเลือดและเส้นเลือดให้ทำหน้าที่ของระบบไหลเวียนเลือดได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ดูแลความรู้สึกนึกคิดและความรู้ตัวอีกด้วย ฉะนั้นหากเราดีใจมากเกินไปแล้วตกดึกนอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่ฝันเยอะ นั่นก็เป็นสัญญานเตือนให้เราต้องหันมาบำรุงหัวใจกันแล้วนั่นเอง

heart1

3.อารมณ์ครุ่นคิด (คิดมาก)

เคยสังเกตกันไหมว่า ทุกครั้งที่เราหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานจะทำให้เรารู้สึกไม่อยากอาหาร ท้องอืด ผายลมบ่อยๆ อ่อนเพลีย หรือในบางคนแสดงออกในแบบตรงกันข้าม นั่นคือกินเก่งกินจุ หิวตลอดเวลา ท้องเสียหรือถ่ายเหลว ใต้ตาคล้ำ ลิ้นบวมข้างลิ้นมีรอยฟัน เป็นต้น 

ส่งผลต่อการทำงานของม้าม

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายไว้ว่า อารมณ์ครุ่นคิดทำให้ลมปราณติดขัด ไม่ไหลเวียน ส่งผลถึงการทำงานของม้าม ม้าม (ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน) หมายถึง ระบบย่อยอาหารในทางวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร ดังนั้นหากเราครุ่นคิดกังวล ระบบย่อยอาหารจะเสียสมดุลและแสดงอาการออกมาทางน้อยเกินไปหรือมากเกินไปนั่นเอง

spleen

4.อารมณ์เสียใจ

เราอาจจะเคยเห็นในละครกันเป็นประจำ เมื่อนางเอกหรือพระเอกเสียใจมากๆ มักจะล้มป่วย ไอค่อกๆ แค่กๆ หรือแน่นหน้าอกจนตรอมใจตายไป ในเรื่องจริงเราก็อาจจะพบสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ได้ ในผู้ที่เสียใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้มีอาการหายใจสั้นๆ ทางเดินหายใจติดขัด ไอไม่มีเสมหะ หอบ แน่นหน้าอก อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น 

ส่งผลต่อการทำงานของปอด

เนื่องจากอารมณ์เสียใจจะส่งผลต่อปอด ปอด (ทางการแพทย์แผนจีน) ทำหน้าที่ดูแลลมปราณที่ได้จากการหายใจให้เดินทางไปสู่ส่วนต่างๆ ในทิศทางที่ถูกต้อง การเสียใจนานๆ จะทำให้ลมปราณเดินช้าลง ติดขัด นานๆ เข้าจะกระทบพลังยินหรือสารน้ำในร่างกาย เกิดความร้อนขึ้นในร่างกายได้

lung2

5.อารมณ์กลัว

ความกลัวทำให้ลมปราณเดินสู่ด้านล่างของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ที่หวาดกลัวมักจะมีอาการกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ สติกระเจิดกระเจิง นานๆเข้าอาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ 

ส่งผลต่อการทำงานของไต

ที่เป็นเช่นนี้ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายว่า อารมณ์กลัวจะมุ่งทำร้ายอวัยวะไต ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสารน้ำ การขับถ่าย และสมรรถภาพทางเพศ  จึงเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ขึ้นได้

kidney

เราได้เห็นผลต่อร่างกายที่เกิดจากการมีอารมณ์ที่ไม่สมดุลกันไปแล้ว มาติดตามการรักษาโรคหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ เหล่านี้ในบทความต่อไปกันค่ะ

“อารมณ์” รักษาโรคได้อย่างไร>>

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top