Winter Solstice Festival 冬至

ตงจื้อ | เทศกาลฤดูหนาว

ตงจื้อ หรือ เทศกาลฤดูหนาว ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลากลางฤดูหนาว ประมาณเดือน 11 และใกล้เคียงกับเทศกาลล่าปา ในสมัยชุนชิว ประเทศจีนก็มีการใช้เครื่องมือพื้นบ้านทำการวัดเวลาของ 24 เทศกาลใน 1 ปี  และพิสูจน์ได้ว่า วันตงจื้อเป็นเทศกาลแรกเทศกาลหนึ่ง ซึ่ง มีเวลากลางวันสั้นที่สุด และเวลาคืนยาวที่สุดในรอบปี  เมื่อผ่านพ้นตงจื้อไปแล้วกลางวันจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ  ฉะนั้นในสมัยโบราณจึงมีการสันนิษฐานว่า  วันตงจื้อนั้นเป็นวันขึ้นปีใหม่  ชาวบ้านจึงมีการฉลองอย่างครึกครื้นเป็นการใหญ่  ช่วงหลังชาวบ้านรับรู้ถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเช่นลูกเห็บตกในฤดูใบไม้ผลิ  ฟ้าคะนองในฤดูหนาว  การเกิดสุริยคราสหรือจันทรคราสอุทกภัยหรือภัยแล้ง  ทั้งหมดนี้เป็นเพราะฟ้าดินวิปริตแปรปรวน ซึ่งเป็นการลงโทษต่อมนุษย์โลกทั้งนั้น

ในสมัยราชวงศ์หมิง และ ราชวงศ์ชิงนั้น กษัตริย์ได้ฉลองพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่  เพื่อบวงสรวงพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ประทานพืชพันธุ์ธัญญาหารอันอุดมสมบูรณ์ในปีนั้น  และขอพรความสุขความเจริญเพื่อดับทุกข์แทนประชาชน  เพราะกษัตริย์ก็คือบุตรสวรรค์  ต่อมาประชาชนก็บวงสรวงเซ่นไหว้เทพเจ้าฟ้าดิน และบรรพบุรุษตามกษัตริย์

ส่วนเกี่ยวกับอาหารการกินในเทศกาลนี้ก็คือ “ขนมอี๋”  ซึ่งเรียกว่า “สารทขนมอี๋”  หรือ เทศกาลฤดูหนาว  แต่ละถิ่นก็มีการกินที่แตกต่างกัน เช่น ทางอีสานชอบกินเต้าหู้ร้อน เนื้อสุนัข เกี๊ยว  ทั้ง 3 อย่างนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายและให้ความอบอุ่นด้วย  ส่วนเกี๊ยวนั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หุนทุน”  เล่ากันว่า  ในสมัยราชวงศ์ฮั่น  ทางด้านทิศเหนือมีชนกลุ่มน้อยที่มีความเหี้ยมโหดเรียกว่า  “ซงหนู”  เข้ามารังควานทางด้านชายแดนบ่อย ๆ  ทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความไม่เป็นสุข  ในตอนนั้นพวกซงหนูมีอยู่ 2 พวก  หัวหน้าคนหนี่งชื่อ  “หุน”  อีกคนหนึ่งชื่อ  “ทุน” ชาวบ้านเกลียดชังเข้ากระดูกดำ  จึงได้ห่อเกี๊ยวเป็นเหลี่ยมและเรียกว่า  “หุนทุน”  กินเป็นอาหาร  ไม่ให้มาทำความวุ่นวายหรือรังควานอีก  จากนั้นมาความเป็นอยู่เป็นไปอย่างสงบสุข  ส่วนแถบทางใต้และพวกที่อยู่ต่างแดนพอถึงเทศกาลฤดูหนาว ก็จะทำขนมอี๋เซ่นไหว้ฟ้าดินเทพเจ้า  และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว  เพื่อแสดงถึงความกลมเกลียวโชคดีมีสุขตามขนมที่เซ่นไหว้

สำหรับขนมอี๋ หรือขนมบัวลอยที่ใช้ในการเซ่นไหว้จะทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำต้มสุกจนเข้าที่และปั้นเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นิยมผสมสีชมพูและสีขาว เมื่อปั้นเสร็จแล้วจึงนำไปต้มในน้ำเดือดคล้ายกับการทำบัวลอยน้ำกะทิของคนไทย แต่ขนมอี๋จะใช้น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดงแทนกะทิ ที่สำคัญจะต้องมีขนมอี๋ลูกใหญ่ที่เรียกว่า อีโบ้ ใส่ลงไปในถ้วยขนมอี๋ที่จะไหว้ถ้วยละหนึ่งลูกด้วย

ลักษณะกลมของขนมอี๋ สื่อความหมายถึงความกลมเกลียวของคนในครอบครัว สีแดงและสีชมพู  สื่อความหมายถึงความโชคดี  นอกจากนี้ขนมอี๋ยังถือเป็นขนมมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีนที่นิยมทำขื้นในงานแต่งงานอีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top