อาจารย์แพทย์จีนอรภา ศิลมัฐ การนวดรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน (ทุยหนา) ในเด็ก

การนวดจีน(ทุยหนา) ถือเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนแขนงหนึ่งที่มีแต่โบราณ สามารถใช้รักษาโรคได้เช่นเดียวกับการฝังเข็ม โดยวิธีการใช้มือกด นวด บีบ ถูหรือกลิ้ง เป็นต้น สำหรับเด็กที่มีความไวต่อความรู้สึกของเข็มและอวัยวะภายในยังมีความเปราะบางเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การนวดทุยหนาจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก อีกทั้งการนวดนั้นยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ กระตุ้นเลือดลมและปรับสมดุลร่างกาย ทำให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย ซึ่งการนวดทุยหนาในเด็กนั้นเป็นวิธีที่ประหยัดและได้ผลจริงในประเทศจีนจึงนิยมใช้การนวดทุยหนารักษาในเด็ก โรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคไม่อยากอาหาร โรคท้องผูก โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น

การนวดรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน(ทุยหนา)ในเด็ก

การนวดทุยหนาในเด็กมีประโยชน์ดังนี้

  1. เพิ่มการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างสมควรตามวัย
  2. ใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรค เช่น โรคหวัด ตัวร้อน ไอ น้ำลายไหล ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ไม่อยากอาหาร สายตาสั้น เป็นต้น ซึ่งผลการรักษาเห็นได้อย่างชัดเจน
  3. ป้องกันโรคเพิ่มภูมิต้านทานโรคในเด็ก โดยการนวดให้เลือดลมปราณไหลเวียนได้อย่างปกติ หรือในกรณีที่ป่วยการนวดสามารถควบคุมอาการและป้องกันไม่ให้โรคลุกลามได้

เทคนิคการนวดทุยหนาในเด็ก

smartparentsg2

1. ตำแหน่ง บริเวณท้อง

รักษาโรค        ท้องอืด อาหารไม่ย่อย อาเจียน ท้องเสีย ตาลขโมย

วิธีการนวด     ใช้ฝ่ามือนวดคลึงประมาณ 5-10 นาที

babycentreuk

2. ตำแหน่ง ด้านฝ่ามือ บริเวณนิ้วหัวแม่มือข้อที่สอง (เส้นลมปราณกระเพาะอาหาร)

รักษาโรค        ท้องเสีย อาเจียน

วิธีการนวด     กดนวดไปมาประมาณ 300 ครั้ง

3. ตำแหน่ง ด้านฝ่ามือ บริเวณนิ้วหัวแม่มือข้อบนสุด (เส้นลมปราณม้าม)

รักษาโรค        อาหารไม่ย่อย อาเจียน ท้องเสีย ตาลขโมย

วิธีการนวด     กดนวดวนหรืองอบริเวณปลายนิ้วหัวแม่มือเข้าออกประมาณ 300 ครั้ง

4. ตำแหน่ง ด้านฝ่ามือ บริเวณนิ้วนางข้อบนสุด (เส้นชลมปราณปอด)

รักษาโรค        แน่นหน้าอก ไอหอบ

วิธีการนวด     กดนวดในทิศขึ้นไปทางปลายนิ้วประมาณ 200 ครั้ง

5. ตำแหน่ง นิ้วก้อยด้านนอก (เส้นลมปราณลำไส้เล็ก)

รักษาโรค        ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะเป็นเลือด

วิธีการนวด     ถูขึ้นลงจากโคนนิ้วถึงปลายนิ้วประมาณ 50 ครั้ง

momjungtioncom

6. ตำแหน่ง แขนท่อนล่างด้านนอก (ด้านกระดูก ulnar)

รักษาโรค        ตัวร้อน เหงื่อออกเยอะ ท้องผูก

วิธีการนวด     ถูขึ้นลงประมาณ 300 ครั้ง

7. ตำแหน่ง แขนท่อนล่างด้านใน (ด้านกระดูก radius)

รักษาโรค        ตัวร้อน เหงื่อออกเยอะ กลัวหนาว

วิธีการนวด     ถูขึ้นลงประมาณ 300 ครั้ง

8. ตำแหน่ง ด้านหลังมือ บริเวณร่องระหว่างนิ้วนางและนิ้วก้อย

รักษาโรค        ปวดฟัน ชัก ปวดท้อง ลำไส้ย้อย

วิธีการนวด     หยิกประมาณ 3-5 ครั้ง, นวดคลึงประมาณ 30 ครั้ง

Cute-baby-receiving-massage_2560x1600

9. ตำแหน่ง กระดูกสันหลังข้อที่สาม ห่างออกมา 1.5 ชุ่น

รักษาโรค        ตัวร้อน ไอหอบ

วิธีการนวด     กดนวดประมาณ 50 ครั้ง

10. ตำแหน่ง ตรงกลางระหว่างปลายกระดูกก้นกกกับรูทวาร

รักษาโรค        ท้องเสีย ท้องผูก

วิธีการนวด     นวดคลึงประมาณ 300 ครั้ง, หยิกประมาณ 3-5 ครั้ง

การนวดรักษาโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน(ทุยหนา)ในเด็ก

ถึงแม้ว่าการนวดทุยหนาจะเป็นผลดีสำหรับเด็กในการรักษาโรค แต่การนวดทุยหนาในเด็กนั้นไม่เหมาะที่จะรักษาในกรณีดังต่อไปนี้

ในการรักษาด้วยการนวดทุยหนานั้น ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ถึงสาเหตุของการเกิดโรคอย่างถูกต้องเสียก่อนและการนวดในบางวิธีควรทำโดยผู้ที่มีความชำนาญมิเช่นนั้นอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นมากขึ้นได้ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการนวดต้องสะอาด มีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป หลังจากนวดเสร็จแล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เย็น การทานอิ่มเกินไปหรือหิวเกินไป และควรมารับการนวดรักษาอย่างต่อเนื่อง

  1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 9 สัปดาห์ เนื่องจากอวัยวะต่างๆยังไม่แข็งแรง โดยปกติแล้วจะเริ่มรับการนวดรักษาได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
  2. บริเวณผิวหนังมีบาดเจ็บจากการถูกความร้อนหรือของมีคมทำให้เกิดเป็นบาดแผลเปิดมีเลือด ควรหลีกเลี่ยงการนวดในบริเวณนั้น
  3. เป็นเนื้องอก กระดูกหัก หรือกระดูกไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ควรหลีกเลี่ยงการนวดรักษา
  4. โรคติดต่อเฉียบพลัน เช่น วัณโรคปอด ตับอักเสบเฉียบพลัน ควรหลีกเลี่ยงการนวดรักษา
  5. โรคหัวใจรุนแรง โรคประสาท ไม่ควรรับการรักษาด้วยการนวดทุยหนา

การนวดทุยหนาในเด็กนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็กในหลายกรณี เป็นทั้งการรักษาโรค การป้องกันร่างกาย การเสริมสุขภาพร่างกาย ให้เด็กมีความพร้อมและเจริญเติบโตอย่างสมวัยต่อไป จะเห็นได้ว่าเพียงแค่สองมือของเราก็สามารถใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ทำให้เด็กสบายตัวมากขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งยารักษาเสมอไป ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและพยาธิสภาพของโรคนั้นๆด้วย.

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก

https://www.momjunction.com/

https://www.smartparents.sg/

https://www.babycentre.co.uk/

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น Strictly necessary cookies *
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytics.

    Google Analytics.Necessary cookies are required to help a website usable by enabling core functions and access to secure areas of the website. The website cannot be function properly without these cookies and they are enabled by default and cannot be disabled

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top